วันอาทิตย์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

สินค้าส่งออก

สินค้าเฟอร์นิเจอร์
1. สถานการณ์ทั่วไป สินค้าเฟอร์นิเจอร์ของอิตาลีมีประวัติศาสตร์การผลิตมายาวนานสืบต่อกันมาหลายรุ่น ระหว่างปี 1998 – 2007 ถือเป็นช่วงเวลาที่มีความรุ่งเรืองมากจาก Strong Demand ทั้งในประเทศและต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง มีชื่อในด้านรูปแบบดีไซน์สวยงาม สร้างสรรและคุณภาพดี มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันทั่วโลก ด้วยเหตุนี้พบว่าอิตาลีมีมูลค่าการส่งออกสินค้าเฟอร์นิเจอร์สูงกว่ามูลค่าการนาเข้ามาตลอด แม้ในปีหลังที่ภาวะเศรษฐกิจถดถอย



2. ความเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์อิตาลีจากอดีตถึงปัจจุบัน ในช่วงระยะเวลา 25 ปีที่ผ่านมา อิตาลีได้กลายเป็นผู้นาทางด้านเฟอร์นิเจอร์โลกโดยมีปัจจัยหลักมาจาก 2.1 รูปแบบดีไซน์ที่เน้นให้ความสาคัญความสวยงามของสินค้า 2.2 ไอเดียแปลกใหม่ในการผลิตสินค้าและการใช้เครื่องมือผลิตที่ทันสมัย 2.3 การผลิตสินค้าที่มีคุณภาพหลากหลายจากโรงงาน/บริษัทเฟอร์นิเจอร์ขนาดเล็ก แต่ในปัจจุบัน ปัจจัยดังกล่าวไม่สามารถตอบสนองความต้องการของตลาดผู้บริโภคทั่วโลกที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลาได้ เพราะหลายประเทศเริ่มพัฒนาศักยภาพในการผลิตสินค้าให้มีคุณภาพและราคาต่ำ พัฒนานักออกแบบและสถาบันการสอนให้มีคุณภาพ แต่การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวส่งผลให้เกิดความต้องการซื้อในตลาดโลกเพิ่มมากขึ้น จึงถือเป็นโอกาสดีแก่อิตาลีในการเพิ่มการส่งออก

เมื่อเกิดเหตุการณ์วิกฤติเศรษฐกิจ (International Economy Slump) ในประเทศมหาอานาจอย่างสหรัฐอเมริกาในปี 2008 ได้ปลุกให้ทั่วโลกตื่นตัวและระมัดระวังในการบริโภค/การลงทุนมากยิ่งขึ้น โดยการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกได้ส่งผลชัดเจนมากขึ้น หลายอุตสาหกรรมเริ่มเข้าสู่ภาวะชะลอตัวไม่เว้นแม้แต่ภาคอุตสาหกรรมที่เข้มแข็งอย่างอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์อิตาลี สาเหตุจากราคาน้ามันที่ไต่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้วัตถุดิบและกึ่งวัตถุดิบมีราคาสูงขึ้น ธนาคารไม่ปล่อยกู้ จนทาให้ธุรกิจชะลอตัวและเข้าขั้นชะงักในไตรมาสสุดท้ายของปี 2008 โดยปี 2008 อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ไม้มียอดขายลดลงร้อยละ 5.6 อันเนื่องจากการลดลงของการบริโภคภายในประเทศร้อยละ 7.8 และยอดการส่งออกลดลงร้อยละ 2

สถานการณ์ในปี 2010
Mr. Rosario Messina ประธาน FederlegnoArredo ได้ขอความช่วยเหลือจากภาครัฐบาลให้เข้ามาช่วยเหลือภาคอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์อิตาลีอย่างเร่งด่วนภายในปี 2010 เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการว่างงานกว่า 100,000 ราย และการันตีให้กับภาคอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ขนาดเล็กและขนาดกลางในการดาเนินงานในระบบเศรษฐกิจอิตาลีขณะนี้
อย่างไรก็ตาม ภาคอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์อิตาลีมีความหวังว่าตลาดต่างประเทศจะกลับมาฟื้นตัวอย่างรวดเร็วอีกครั้งหนึ่งเหมือนก่อนที่จะเกิดเหตุการณ์วิกฤติเศรษฐกิจโลก
ปี 2010 สถาบัน CSIL (Centre for Industrial Studies) ได้คาดการณ์สถานการณ์การผลิตยังคงเป็นอีกปีหนึ่งที่ภาคอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์อิตาลีต้องเผชิญกับภาวะที่ลาบาก อันเนื่องมาจากความต้องการในตลาดอิตาลียังไม่มีการเปลี่ยนแปลงกอปรกับความต้องการในตลาดต่างประเทศจะกลับมาฟื้นตัวอย่างช้าๆในช่วงปลายปี 2010
ปี 2010 สถาบัน CSIL ได้คาดการณ์สถานการณ์การบริโภคสินค้าเฟอร์นิเจอร์อิตาลีไม่มีการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นมากนัก โดยมีสาเหตุต่อเนื่องมาจากการชะลอตัวการบริโภคทั้งในและต่างประเทศ อีกทั้งในช่วงครึ่งปีแรกการบริโภคยังคงกลับมาฟื้นตัวได้ยาก โดยยอดขายในอิตาลีอาจจะมีผลลดลงร้อยละ 1 อันเนื่องมาจากรายได้ของประชาชนลดลง ภาวะการตกงาน การเพิ่มขึ้นของราคาวัตถุดิบ และภาวะเงินเฟ้อ ในขณะนี้ผู้ขายส่วนใหญ่จะพยายามหลีกเลี่ยงการซื้อสินค้ามาเก็บไว้ในโกงดัง โดยสาเหตุหลักมาจากจานวนของผู้บริโภคลดลงอย่างมาก
3. การนำเข้า ปี 2009 จากข้อมูลของ Federlegno-Arredo พบว่าอิตาลีมีมูลค่าการนาเข้าลดลงร้อยละ 16.7 นอกจากนี้ ข้อมูลจาก World Trade Altas พบว่าระหว่างเดือนมกราคม-ตุลาคม 2009 อิตาลีมีมูลค่าการนาเข้าจากทั่วโลก 1,972 ล้านยูโร อัตราการนาเข้าลดลงร้อยละ 15.5 สาเหตุหลักเกิดจาก Internal Demand ลดลง ทั้งจากผู้ผลิตและ Demand จากครอบครัวอิตาเลียน ตลาดนาเข้าหลักของอิตาลีได้แก่
- อันดับ 1 ประเทศจีน มูลค่า 501 ล้านยูโร (-12.2%)
- อันดับ 2 ประเทศเยอรมัน มูลค่า 299 ล้านยูโร (-12.5%)
- อันดับ 3 ประเทศออสเตรีย มูลค่า 140 ล้านยูโร (-31.3%)
- อันดับ 25 ประเทศไทย มูลค่า 17 ล้านยูโร (-21.6%)
สินค้าเฟอร์นิเจอร์ที่อิตาลีนาเข้าจากไทยได้แก่
        - เฟอร์นิเจอร์สาหรับห้องนั่งเล่น/ห้องอาหาร/ห้องนอน
        - ฐานรองฟูก
        - เฟอร์นิเจอร์ที่ใช้ในทางการแพทย์
        - เครื่องประทีบโคมไฟ และที่นั่ง
โดยสินค้าเฟอร์นิเจอร์ที่อิตาลีนาเข้าลดลงมากคือ เฟอร์นิเจอร์ทาด้วยโลหะและไม้ (-17.9%) ในขณะที่สินค้าที่อิตาลีนาเข้าเพิ่มขึ้นคือ ฐานรองฟูก เตียงและของตกแต่งเตียง (+116.7%) อันเนื่องมาการปิดโรงงานผู้ผลิตฐานรองฟูกในปีก่อน ปี 2010 สถาบัน CSIL ได้คาดการณ์สถานการณ์การนาเข้า โดยความต้องการในตลาดอิตาลียังไม่มีการเพิ่มขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม การนาเข้าอาจมีการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น
4. การส่งออก ปี 2009 จากข้อมูลของ FederlegnoArredo พบว่าอิตาลีมีมูลค่าการส่งออกลดลงร้อยละ 23 โดยมีปัจจัยหลักมาจากการลดกาลังซื้อทั้งมูลค่าและปริมาณสินค้าของประเทศคู่ค้าหลักในยุโรปตะวันตก ได้แก่ - ฝรั่งเศส (-12%) - เยอรมัน (-10.1%) - สหราชอาณาจักร (-39.8%) - สหรัฐอเมริกา (-34.9%) นอกจากนี้ ตลาดส่งออกที่มีมูลค่าการสั่งซื้อเพิ่มขึ้นในปีก่อน พบว่าปีนี้ตลาดดังกล่าวมีมูลค่าการสั่งซื้อลดลง ได้แก่ รัสเซีย (-33%) สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (-33.8%)
ระหว่างเดือนมกราคม-ตุลาคม 2553 จากข้อมูลของ World Trade Altas พบว่าสินค้าเฟอร์นิเจอร์ของอิตาลีเป็นสินค้าส่งออกลาดับที่ 8 ของประเทศ โดยมีมูลค่าส่งออก 7,509 ล้านยูโร ลดลงร้อยละ -22.2 ตลาดส่งออกหลักของอิตาลีได้แก่
- อันดับ 1 ประเทศฝรั่งเศล มูลค่า 1,223 ล้านยูโร (-12.2%)
- อันดับ 2 ประเทศเยอรมัน มูลค่า 887 ล้านยูโร (-10.7%)
- อันดับ 3 ประเทศสหราชอาณาจักร มูลค่า 592 ล้านยูโร (-36.5%)
- อันดับ 75 ประเทศไทย มูลค่า 6 ล้านยูโร (-17.5%)
ปี 2010 สถานการณ์การส่งออกสินค้าเฟอร์นิเจอร์อิตาลียังไม่สู้ดีนัก เนื่องจากความต้องการซื้อจากตลาดต่างประเทศยังคงอ่อนแอและความต้องการบริโภคสินค้าภายในไม่มีการเปลี่ยนแปลง
       ตารางสถานการณ์ของอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์อิตาลีจากปี 2000-2010 (%)
ที่มา : สถาบัน CSIL (Centre for Industrial Studies)
5. ลักษณะตลาดเฟอร์นิเจอร์ ตลาดเฟอร์นิเจอร์ในอิตาลีแบ่งออกเป็น 2ตลาดหลัก ได้แก่ - Furniture Outlets สินค้าส่วนใหญ่มีคุณภาพ ราคาปานกลาง-ต่ำ โดยมุ่งตลาดผู้บริโภคระดับกลางถึงล่าง มีสินค้าให้เลือกหลากหลายทั้งรูปแบบและราคา สินค้าส่วนใหญ่เป็นสินค้านาเข้าหรือสินค้านาเข้าที่สั่งผลิตในต่างประเทศภายใต้รูปแบบดีไซน์อิตาเลียน Specialist Stores ส่วนใหญ่เป็นสินค้าจากผู้ผลิตที่มีขนาดเล็ก โดยเน้นผลิตสินค้าคุณภาพดี-ดีมากและราคาสูง มุ่งสาหรับตลาดบนหรือตลาดเฉพาะ (Niche Market)
6. ข้อเสนอแนะ สินค้าเฟอร์นิเจอร์จากไทยจัดอยู่ในคุณภาพดีถึงดีมาก แต่ยังไม่เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางของผู้นาเข้าและมักมีความเห็นว่าเฟอร์นิเจอร์ไทยราคาสูงเกินไป ประกอบกับในช่วงปีหลังผู้นาเข้าอิตาลีให้ความสำคัญกับราคาสินค้าเพิ่มมากขึ้น ทาให้ประเทศไทยมีคู่แข่งทางการค้าที่สำคัญได้แก่ จีน อินโดนีเซีย เวียดนาม และอินเดีย เป็นต้น นอกจากนี้ ชาวตาเลียนยังคำนึงประโยชน์การใช้สอย อันเนื่องจากภาวะวิกฤติเศรษฐกิจที่ยังคงอยู่ส่งผลให้ชาวอิตาเลียนไตร่ตรองเพิ่มมากขึ้นในการใช้จ่าย ดังนั้น การที่ไทยต้องการจะขยายกาลังการส่งออกมาสู่ตลาดอิตาลีควรมีการปรับตัว ดังนี้ 10.1 ส่งออกสินค้าที่เน้นประโยชน์ใช้สอย บ้านเรือนของชาวอิตาเลียนส่วนใหญ่จะมีพื้นที่จากัดโดยเฉพาะบ้านในตัวเมือง ส่งผลให้ชาวอิตาเลียนนิยมซื้อเฟอร์นิเจอร์ที่เน้นประโยชน์ใช้สอยและประหยัดพื้นที่
7. งานแสดงสินค้า Salone Internazionale del Mobile 2010  งานแสดงสินค้า Salone Internazionale del Mobile 2010 ที่จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 14-19 เมษายน 2553 ถือเป็นงานแสดงสินค้าเฟอร์นิเจอร์ที่สำคัญที่สุดงานหนึ่งในโลก จัดขึ้น ณ เมืองมิลาน ประเทศอิตาลี โดยมีบริษัทผู้ส่งออกไทยจานวน 8 บริษัท เข้าร่วมแสดงในงานฯ ซึ่งเป็นครั้งที่สอง โดยปี 2009 บริษัทผู้ส่งออกไทยได้รับความสนใจเป็นอย่างมากจากผู้เข้าชมทั้งชาวอิตาเลียนและชาวต่างชาติ จึงนับได้ว่าเป็นโอกาสดีในการเผยแพร่สินค้าเฟอร์นิเจอร์ไทยในงานดังกล่าว
บรรยากาศบูธไทยในงาน Salone Internazionale del Mobile 2009
ที่มา : http://www.cosmit.it/

วิเคราะห์ SWOT
จุดแข็ง (Strengths)
1.  มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันทั่วโลก และเป็นผู้นำทางด้านเฟอร์นิเจอร์โลก
2.   รูปแบบดีไซน์ที่เน้นให้ความสำคัญความสวยงามของสินค้า
3.  ไอเดียแปลกใหม่ในการผลิตสินค้าและการใช้เครื่องมือผลิตที่ทันสมัย
4.  การผลิตสินค้าที่มีคุณภาพหลากหลายจากโรงงาน/บริษัทเฟอร์นิเจอร์ขนาดเล็ก

จุดอ่อน(Weakness)
1.  อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ไม้มียอดขายลดลง
2.  ความต้องการในตลาดอิตาลียังไม่มีการเปลี่ยนแปลง
3.  ธนาคารไม่ปล่อยกู้ จนทำให้ธุรกิจชะลอตัว
4.  การจ้างงานลดลงเพราะแข่งขันกับบริษัทข้ามชาติขนาดใหญ่

โอกาส(Opportunities)
1. อิตาลีมีมูลค่าการส่งออกสินค้าเฟอร์นิเจอร์สูงกว่ามูลค่าการนำเข้ามาตลอด
2.  ความต้องการซื้อในตลาดโลกเพิ่มมากขึ้น จึงถือเป็นโอกาสดีแก่อิตาลีในการเพิ่มการส่งออก
3. ทำการลดภาษีซื้อ และสร้างแรงจูงใจให้กับภาคอุตสาหกรรมโรงแรมให้เปลี่ยน/ซื้อเฟอร์นิเจอร์ใหม่
4. รัฐบาลอิตาลีได้พยายามให้ความช่วยเหลือทั้งภาค อุตสาหกรรม และในระดับครอบครัวเพื่อจูงใจให้เพิ่มการลงทุนและกระตุ้นการใช้จ่ายระดับครอบครัวมากขึ้น

อุปสรรค(Threats)
1.  ภาวะการตกงาน
2.  รายได้ของประชาชนลดลง 
3. ราคาน้ำมันที่ไต่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
4. ผู้บริโภคอยู่ในสถานการณ์ขาดความเชื่อมั่น จึงเกิดการชะลอตัวในการลงทุน/บริโภคสินค้าถาวร (เฟอร์นิเจอร์)

2 ความคิดเห็น:

  1. The SWOT is for exporting Thai products to Italy. So check your analysis again.

    ตอบลบ
  2. สีบล๊อดเขียวได้จัยดี อ่านไปตาเกือบเขียวไปด้วย
    เนื้อหาดี

    ตอบลบ