วันเสาร์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ความรู้สึกในการกินขนมอินเดีย

ก่อนที่จะกิน รู้สึกสนุกมาก นั่งรถมาตามหาเลยที่เดียว วว


  กอลากัง - เป็นขนมชนิดแรกที่แม่ค้าแนะนำ บอกอันนี้อร่อย และทามมาจากนม นุ่มด้วย!! พอทานเข้าไปแล้วมันก็อร่อยดี มีกลิ่นนมข้น และนุ่มจริงๆ เสน่ห์ของขนมชนิดนี้ก็คือ มันหอมและนุ่มนั่นเอง


บัฟฟี่ - ขนมชนิดนี้ทำมาจากนมเช่นเดียวกันแต่จะมีช็อกโกแล็กผสมอยู่ด้วย แต่จะแตกต่างกับกอลากังก็คือมันจะแข็งกว่า ไม่ค่อยนุ่มและกลิ่นเครื่องเทศก็จะแรงกว่ากอลาลังด้วย


ปิ่นนี - ทำมาจากถั่วและใช้เม็ดมะม่วงหินมะพานโรยอยู่ อันนี้จะมีกลิ่นเครื่องเทศผสมอยู่นิดๆ คิดว่าที่คนอินเดียชอบกินเพราะน่าจะมีเครื่องเทศอยู่ตามขนมของเค้า เพราะเค้าชอบเครื่องเทศอยู่แล้ว
โดราบัฟฟี่ - ขนมชิ้นนี้เครื่องเทศเยอะมาก แรงมากด้วยขึ้นจมูกเลย

คิดว่า...ขนมอินเดียทุกชนิดน่าจะมีส่วนผสมของเครื่องเทศ ตามสไตส์ของอินเดีย และเป็นเอกลักษณ์ของเค้า ที่คนอินเดียชอบกินเพราะสิ่งนี้

วันอาทิตย์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

สินค้าส่งออก

สินค้าเฟอร์นิเจอร์
1. สถานการณ์ทั่วไป สินค้าเฟอร์นิเจอร์ของอิตาลีมีประวัติศาสตร์การผลิตมายาวนานสืบต่อกันมาหลายรุ่น ระหว่างปี 1998 – 2007 ถือเป็นช่วงเวลาที่มีความรุ่งเรืองมากจาก Strong Demand ทั้งในประเทศและต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง มีชื่อในด้านรูปแบบดีไซน์สวยงาม สร้างสรรและคุณภาพดี มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันทั่วโลก ด้วยเหตุนี้พบว่าอิตาลีมีมูลค่าการส่งออกสินค้าเฟอร์นิเจอร์สูงกว่ามูลค่าการนาเข้ามาตลอด แม้ในปีหลังที่ภาวะเศรษฐกิจถดถอย



2. ความเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์อิตาลีจากอดีตถึงปัจจุบัน ในช่วงระยะเวลา 25 ปีที่ผ่านมา อิตาลีได้กลายเป็นผู้นาทางด้านเฟอร์นิเจอร์โลกโดยมีปัจจัยหลักมาจาก 2.1 รูปแบบดีไซน์ที่เน้นให้ความสาคัญความสวยงามของสินค้า 2.2 ไอเดียแปลกใหม่ในการผลิตสินค้าและการใช้เครื่องมือผลิตที่ทันสมัย 2.3 การผลิตสินค้าที่มีคุณภาพหลากหลายจากโรงงาน/บริษัทเฟอร์นิเจอร์ขนาดเล็ก แต่ในปัจจุบัน ปัจจัยดังกล่าวไม่สามารถตอบสนองความต้องการของตลาดผู้บริโภคทั่วโลกที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลาได้ เพราะหลายประเทศเริ่มพัฒนาศักยภาพในการผลิตสินค้าให้มีคุณภาพและราคาต่ำ พัฒนานักออกแบบและสถาบันการสอนให้มีคุณภาพ แต่การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวส่งผลให้เกิดความต้องการซื้อในตลาดโลกเพิ่มมากขึ้น จึงถือเป็นโอกาสดีแก่อิตาลีในการเพิ่มการส่งออก

เมื่อเกิดเหตุการณ์วิกฤติเศรษฐกิจ (International Economy Slump) ในประเทศมหาอานาจอย่างสหรัฐอเมริกาในปี 2008 ได้ปลุกให้ทั่วโลกตื่นตัวและระมัดระวังในการบริโภค/การลงทุนมากยิ่งขึ้น โดยการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกได้ส่งผลชัดเจนมากขึ้น หลายอุตสาหกรรมเริ่มเข้าสู่ภาวะชะลอตัวไม่เว้นแม้แต่ภาคอุตสาหกรรมที่เข้มแข็งอย่างอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์อิตาลี สาเหตุจากราคาน้ามันที่ไต่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้วัตถุดิบและกึ่งวัตถุดิบมีราคาสูงขึ้น ธนาคารไม่ปล่อยกู้ จนทาให้ธุรกิจชะลอตัวและเข้าขั้นชะงักในไตรมาสสุดท้ายของปี 2008 โดยปี 2008 อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ไม้มียอดขายลดลงร้อยละ 5.6 อันเนื่องจากการลดลงของการบริโภคภายในประเทศร้อยละ 7.8 และยอดการส่งออกลดลงร้อยละ 2

สถานการณ์ในปี 2010
Mr. Rosario Messina ประธาน FederlegnoArredo ได้ขอความช่วยเหลือจากภาครัฐบาลให้เข้ามาช่วยเหลือภาคอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์อิตาลีอย่างเร่งด่วนภายในปี 2010 เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการว่างงานกว่า 100,000 ราย และการันตีให้กับภาคอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ขนาดเล็กและขนาดกลางในการดาเนินงานในระบบเศรษฐกิจอิตาลีขณะนี้
อย่างไรก็ตาม ภาคอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์อิตาลีมีความหวังว่าตลาดต่างประเทศจะกลับมาฟื้นตัวอย่างรวดเร็วอีกครั้งหนึ่งเหมือนก่อนที่จะเกิดเหตุการณ์วิกฤติเศรษฐกิจโลก
ปี 2010 สถาบัน CSIL (Centre for Industrial Studies) ได้คาดการณ์สถานการณ์การผลิตยังคงเป็นอีกปีหนึ่งที่ภาคอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์อิตาลีต้องเผชิญกับภาวะที่ลาบาก อันเนื่องมาจากความต้องการในตลาดอิตาลียังไม่มีการเปลี่ยนแปลงกอปรกับความต้องการในตลาดต่างประเทศจะกลับมาฟื้นตัวอย่างช้าๆในช่วงปลายปี 2010
ปี 2010 สถาบัน CSIL ได้คาดการณ์สถานการณ์การบริโภคสินค้าเฟอร์นิเจอร์อิตาลีไม่มีการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นมากนัก โดยมีสาเหตุต่อเนื่องมาจากการชะลอตัวการบริโภคทั้งในและต่างประเทศ อีกทั้งในช่วงครึ่งปีแรกการบริโภคยังคงกลับมาฟื้นตัวได้ยาก โดยยอดขายในอิตาลีอาจจะมีผลลดลงร้อยละ 1 อันเนื่องมาจากรายได้ของประชาชนลดลง ภาวะการตกงาน การเพิ่มขึ้นของราคาวัตถุดิบ และภาวะเงินเฟ้อ ในขณะนี้ผู้ขายส่วนใหญ่จะพยายามหลีกเลี่ยงการซื้อสินค้ามาเก็บไว้ในโกงดัง โดยสาเหตุหลักมาจากจานวนของผู้บริโภคลดลงอย่างมาก
3. การนำเข้า ปี 2009 จากข้อมูลของ Federlegno-Arredo พบว่าอิตาลีมีมูลค่าการนาเข้าลดลงร้อยละ 16.7 นอกจากนี้ ข้อมูลจาก World Trade Altas พบว่าระหว่างเดือนมกราคม-ตุลาคม 2009 อิตาลีมีมูลค่าการนาเข้าจากทั่วโลก 1,972 ล้านยูโร อัตราการนาเข้าลดลงร้อยละ 15.5 สาเหตุหลักเกิดจาก Internal Demand ลดลง ทั้งจากผู้ผลิตและ Demand จากครอบครัวอิตาเลียน ตลาดนาเข้าหลักของอิตาลีได้แก่
- อันดับ 1 ประเทศจีน มูลค่า 501 ล้านยูโร (-12.2%)
- อันดับ 2 ประเทศเยอรมัน มูลค่า 299 ล้านยูโร (-12.5%)
- อันดับ 3 ประเทศออสเตรีย มูลค่า 140 ล้านยูโร (-31.3%)
- อันดับ 25 ประเทศไทย มูลค่า 17 ล้านยูโร (-21.6%)
สินค้าเฟอร์นิเจอร์ที่อิตาลีนาเข้าจากไทยได้แก่
        - เฟอร์นิเจอร์สาหรับห้องนั่งเล่น/ห้องอาหาร/ห้องนอน
        - ฐานรองฟูก
        - เฟอร์นิเจอร์ที่ใช้ในทางการแพทย์
        - เครื่องประทีบโคมไฟ และที่นั่ง
โดยสินค้าเฟอร์นิเจอร์ที่อิตาลีนาเข้าลดลงมากคือ เฟอร์นิเจอร์ทาด้วยโลหะและไม้ (-17.9%) ในขณะที่สินค้าที่อิตาลีนาเข้าเพิ่มขึ้นคือ ฐานรองฟูก เตียงและของตกแต่งเตียง (+116.7%) อันเนื่องมาการปิดโรงงานผู้ผลิตฐานรองฟูกในปีก่อน ปี 2010 สถาบัน CSIL ได้คาดการณ์สถานการณ์การนาเข้า โดยความต้องการในตลาดอิตาลียังไม่มีการเพิ่มขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม การนาเข้าอาจมีการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น
4. การส่งออก ปี 2009 จากข้อมูลของ FederlegnoArredo พบว่าอิตาลีมีมูลค่าการส่งออกลดลงร้อยละ 23 โดยมีปัจจัยหลักมาจากการลดกาลังซื้อทั้งมูลค่าและปริมาณสินค้าของประเทศคู่ค้าหลักในยุโรปตะวันตก ได้แก่ - ฝรั่งเศส (-12%) - เยอรมัน (-10.1%) - สหราชอาณาจักร (-39.8%) - สหรัฐอเมริกา (-34.9%) นอกจากนี้ ตลาดส่งออกที่มีมูลค่าการสั่งซื้อเพิ่มขึ้นในปีก่อน พบว่าปีนี้ตลาดดังกล่าวมีมูลค่าการสั่งซื้อลดลง ได้แก่ รัสเซีย (-33%) สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (-33.8%)
ระหว่างเดือนมกราคม-ตุลาคม 2553 จากข้อมูลของ World Trade Altas พบว่าสินค้าเฟอร์นิเจอร์ของอิตาลีเป็นสินค้าส่งออกลาดับที่ 8 ของประเทศ โดยมีมูลค่าส่งออก 7,509 ล้านยูโร ลดลงร้อยละ -22.2 ตลาดส่งออกหลักของอิตาลีได้แก่
- อันดับ 1 ประเทศฝรั่งเศล มูลค่า 1,223 ล้านยูโร (-12.2%)
- อันดับ 2 ประเทศเยอรมัน มูลค่า 887 ล้านยูโร (-10.7%)
- อันดับ 3 ประเทศสหราชอาณาจักร มูลค่า 592 ล้านยูโร (-36.5%)
- อันดับ 75 ประเทศไทย มูลค่า 6 ล้านยูโร (-17.5%)
ปี 2010 สถานการณ์การส่งออกสินค้าเฟอร์นิเจอร์อิตาลียังไม่สู้ดีนัก เนื่องจากความต้องการซื้อจากตลาดต่างประเทศยังคงอ่อนแอและความต้องการบริโภคสินค้าภายในไม่มีการเปลี่ยนแปลง
       ตารางสถานการณ์ของอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์อิตาลีจากปี 2000-2010 (%)
ที่มา : สถาบัน CSIL (Centre for Industrial Studies)
5. ลักษณะตลาดเฟอร์นิเจอร์ ตลาดเฟอร์นิเจอร์ในอิตาลีแบ่งออกเป็น 2ตลาดหลัก ได้แก่ - Furniture Outlets สินค้าส่วนใหญ่มีคุณภาพ ราคาปานกลาง-ต่ำ โดยมุ่งตลาดผู้บริโภคระดับกลางถึงล่าง มีสินค้าให้เลือกหลากหลายทั้งรูปแบบและราคา สินค้าส่วนใหญ่เป็นสินค้านาเข้าหรือสินค้านาเข้าที่สั่งผลิตในต่างประเทศภายใต้รูปแบบดีไซน์อิตาเลียน Specialist Stores ส่วนใหญ่เป็นสินค้าจากผู้ผลิตที่มีขนาดเล็ก โดยเน้นผลิตสินค้าคุณภาพดี-ดีมากและราคาสูง มุ่งสาหรับตลาดบนหรือตลาดเฉพาะ (Niche Market)
6. ข้อเสนอแนะ สินค้าเฟอร์นิเจอร์จากไทยจัดอยู่ในคุณภาพดีถึงดีมาก แต่ยังไม่เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางของผู้นาเข้าและมักมีความเห็นว่าเฟอร์นิเจอร์ไทยราคาสูงเกินไป ประกอบกับในช่วงปีหลังผู้นาเข้าอิตาลีให้ความสำคัญกับราคาสินค้าเพิ่มมากขึ้น ทาให้ประเทศไทยมีคู่แข่งทางการค้าที่สำคัญได้แก่ จีน อินโดนีเซีย เวียดนาม และอินเดีย เป็นต้น นอกจากนี้ ชาวตาเลียนยังคำนึงประโยชน์การใช้สอย อันเนื่องจากภาวะวิกฤติเศรษฐกิจที่ยังคงอยู่ส่งผลให้ชาวอิตาเลียนไตร่ตรองเพิ่มมากขึ้นในการใช้จ่าย ดังนั้น การที่ไทยต้องการจะขยายกาลังการส่งออกมาสู่ตลาดอิตาลีควรมีการปรับตัว ดังนี้ 10.1 ส่งออกสินค้าที่เน้นประโยชน์ใช้สอย บ้านเรือนของชาวอิตาเลียนส่วนใหญ่จะมีพื้นที่จากัดโดยเฉพาะบ้านในตัวเมือง ส่งผลให้ชาวอิตาเลียนนิยมซื้อเฟอร์นิเจอร์ที่เน้นประโยชน์ใช้สอยและประหยัดพื้นที่
7. งานแสดงสินค้า Salone Internazionale del Mobile 2010  งานแสดงสินค้า Salone Internazionale del Mobile 2010 ที่จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 14-19 เมษายน 2553 ถือเป็นงานแสดงสินค้าเฟอร์นิเจอร์ที่สำคัญที่สุดงานหนึ่งในโลก จัดขึ้น ณ เมืองมิลาน ประเทศอิตาลี โดยมีบริษัทผู้ส่งออกไทยจานวน 8 บริษัท เข้าร่วมแสดงในงานฯ ซึ่งเป็นครั้งที่สอง โดยปี 2009 บริษัทผู้ส่งออกไทยได้รับความสนใจเป็นอย่างมากจากผู้เข้าชมทั้งชาวอิตาเลียนและชาวต่างชาติ จึงนับได้ว่าเป็นโอกาสดีในการเผยแพร่สินค้าเฟอร์นิเจอร์ไทยในงานดังกล่าว
บรรยากาศบูธไทยในงาน Salone Internazionale del Mobile 2009
ที่มา : http://www.cosmit.it/

วิเคราะห์ SWOT
จุดแข็ง (Strengths)
1.  มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันทั่วโลก และเป็นผู้นำทางด้านเฟอร์นิเจอร์โลก
2.   รูปแบบดีไซน์ที่เน้นให้ความสำคัญความสวยงามของสินค้า
3.  ไอเดียแปลกใหม่ในการผลิตสินค้าและการใช้เครื่องมือผลิตที่ทันสมัย
4.  การผลิตสินค้าที่มีคุณภาพหลากหลายจากโรงงาน/บริษัทเฟอร์นิเจอร์ขนาดเล็ก

จุดอ่อน(Weakness)
1.  อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ไม้มียอดขายลดลง
2.  ความต้องการในตลาดอิตาลียังไม่มีการเปลี่ยนแปลง
3.  ธนาคารไม่ปล่อยกู้ จนทำให้ธุรกิจชะลอตัว
4.  การจ้างงานลดลงเพราะแข่งขันกับบริษัทข้ามชาติขนาดใหญ่

โอกาส(Opportunities)
1. อิตาลีมีมูลค่าการส่งออกสินค้าเฟอร์นิเจอร์สูงกว่ามูลค่าการนำเข้ามาตลอด
2.  ความต้องการซื้อในตลาดโลกเพิ่มมากขึ้น จึงถือเป็นโอกาสดีแก่อิตาลีในการเพิ่มการส่งออก
3. ทำการลดภาษีซื้อ และสร้างแรงจูงใจให้กับภาคอุตสาหกรรมโรงแรมให้เปลี่ยน/ซื้อเฟอร์นิเจอร์ใหม่
4. รัฐบาลอิตาลีได้พยายามให้ความช่วยเหลือทั้งภาค อุตสาหกรรม และในระดับครอบครัวเพื่อจูงใจให้เพิ่มการลงทุนและกระตุ้นการใช้จ่ายระดับครอบครัวมากขึ้น

อุปสรรค(Threats)
1.  ภาวะการตกงาน
2.  รายได้ของประชาชนลดลง 
3. ราคาน้ำมันที่ไต่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
4. ผู้บริโภคอยู่ในสถานการณ์ขาดความเชื่อมั่น จึงเกิดการชะลอตัวในการลงทุน/บริโภคสินค้าถาวร (เฟอร์นิเจอร์)

วันพุธที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

การค้าระหว่างประเทศ กับ ตลาดระหว่างประเทศ

การค้าระหว่างประเทศ

           คือ การส่งสินค้าของประเทศหนึ่งผ่านพรหมแดนไปขายให้ประเทศอื่นๆที่ต้องการสินค้าของประเทศนั้นๆเรียกการค้าในส่วนนี้ว่า"การส่งออก"
ตลาดระหว่างประเทศ

           คือ การทำธุรกิจค้าขายอันเป็นสร้างมูลค่าเพิ่มและนำเสนอคุณค่าที่อยู่ในรูปของสินค้าและบริการให้กับลูกค้าข้ามพรหมแดนทางรัฐศาสตร์จากประเทศหนึ่งสู่ตลาดระหว่างประเทศโดยมีเป้าหมายเพื่อการหาตลาดใหม่ เพื่อแย่งส่วนแบ่งทางตลาดหรือเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่อยู่ในตลาดระหว่างประเทศ โดยจุคมุ่งหมายที่แท้จริงคือ ธุรกิจต้องการายได้ที่เป็นเงินจากลูกค้าในตลาดระหว่างประเทศ

การค้าระหว่างประเทศ กับ ตลาดระหว่างประเทศ
              ต่างกันก็คือ การค้าระหว่างประเทศคือการส่งออกสินค้าที่ประเทศนั้นๆต้องการ แต่ ตลาดระหว่างประเทศ คือ การค้าขายที่เน้นผลกำไรและหาตลาดใหม่ๆเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า

Italy


  อิตาลี (อิตาลี: Italia) มีชื่ออย่างเป็นทางการคือ สาธารณรัฐอิตาลี (อิตาลี: Repubblica italiana) เป็นประเทศในทวีปยุโรป บริเวณยุโรปใต้ ตั้งอยู่ในคาบสมุทรอิตาลีที่มีรูปทรงคล้ายรองเท้าบูต และมีเกาะ 2 เกาะใหญ่ในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน คือ เกาะซิซิลีและเกาะซาร์ดิเนีย และพรมแดนตอนเหนือแบ่งประเทศโดยเทือกเขาแอลป์ กับประเทศฝรั่งเศส สวิตเซอร์แลนด์ ออสเตรีย และสโลวีเนีย ประเทศอิตาลีเป็นประเทศสมาชิกก่อตั้งของสหภาพยุโรป เป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติ นาโต และกลุ่มจี 8
มีประเทศอิสระ 2 ประเทศ คือ ซานมารีโนและนครรัฐวาติกัน เป็นดินแดนที่ล้อมรอบไปด้วยพื้นที่ของอิตาลี ในขณะที่เมืองกัมปีโอเนดีตาเลีย เป็นดินแดนส่วนแยกของอิตาลีที่ถูกล้อมรอบด้วยพื้นที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
สาธารณรัฐอิตาลี
เมื่อสงครามโลกครั้งที่สอง สิ้นสุดลง อิตาลียังคงมีพระเจ้าวิคเตอร์ เอ็มมานูเอลที่ 3 เป็นประมุขอยู่ ต่อมาพระองค์สละราชสมบัติให้กับพระเจ้าอุมแบร์โตที่ 2 ขึ้นครองราชย์แทน แต่ครองราชย์ได้เพียง 1 เดือนเท่านั้น ประชาชนต่างลงประชามติให้อิตาลีเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบบกษัตริย์มาเป็นระบบสาธารณรัฐในระบอบประชาธิปไตย เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน ค.ศ. 1946 โดยมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญในปี ค.ศ. 1948 จนถึงปัจจุบัน
ภูมิประเทศ
ประเทศอิตาลีตั้งอยู่บนคาบสมุทรอิตาลี ถูกล้อมรอบด้วยทะเลในทุกๆ ด้านยกเว้นด้านเหนือ อาณาเขตทางทิศเหนือติดต่อกับประเทศฝรั่งเศส สวิตเซอร์แลนด์และออสเตรียโดยมีเทือกเขาแอลป์กั้นแบ่ง โดยในเทือกเขามีภูเขาที่สูงที่สุดในทวีปยุโรป คือภูเขามอนเตบีอังโก (อิตาลี: Monte Bianco) ซึ่งตั้งอยู่ในประเทศอิตาลี เทือกเขาที่สำคัญอีกแห่งคือ เทือกเขาแอเพนไนน์ (อิตาลี: Appennini) พาดผ่านตอนกลางและตอนใต้ของประเทศ มีแม่น้ำที่ยาวที่สุดในอิตาลีคือแม่น้ำโป (Po) และแม่น้ำไทเบอร์ที่ไหลผ่านกรุงโรม อิตาลีมีดินแดนที่ราบลุ่มริมแม่น้ำราว 25 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ทั้งประเทศ[4] โดยที่ราบลุ่มแม่น้ำโป ทางตะวันออกเฉียงเหนือเป็นบริเวณพื้นที่ราบที่กว้างใหญ่ที่สุด อิตาลีมีเกาะมากมาย แต่เกาะที่มีขนาดใหญ่ที่สุดคือเกาะซิซิลีและเกาะซาร์ดิเนีย สามารถเดินทางได้โดยเรือและเครื่องบิน
ทางตอนเหนือของอิตาลีมีทะเลสาบที่มีขนาดใหญ่มากมาย เช่น ทะเลสาบการ์ดา โกโม มัจโจเร และทะเลสาบอีเซโอ เนื่องจากประเทศอิตาลีถูกล้อมรอบด้วยทะเล ดังนั้นจึงมีชายฝั่งทะเลยาวหลายพันกิโลเมตร ดึงดูดนักท่องเที่ยวจากทั่วโลก และนักท่องเที่ยวก็นิยมเที่ยวสถานที่ทางประวัติศาสตร์ของอิตาลีอีกด้วย ประเทศอิตาลีมีทะเลสาบปล่องภูเขาไฟมากอันดับหนึ่งของโลก เมืองหลวงของประเทศอิตาลีคือกรุงโรม และเมืองสำคัญอื่น ๆ เช่นเมืองมิลาน ตูริน ฟลอเรนซ์ เนเปิลส์ และเวนิส และภายในประเทศอิตาลียังมีประเทศแทรกอยู่ 2 ประเทศ ได้แก่ ประเทศซานมารีโนและนครรัฐวาติกัน
ทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญของประเทศ คือ ปรอท โพแทช (โพแทสเซียมคาร์บอเนต) หินอ่อน กำมะถัน แก๊สธรรมชาติ น้ำมันดิบ ปลาและถ่านหิน[5]
อิตาลีมีปัญหาด้านสภาพแวดล้อม เช่น มลภาวะเป็นพิษจากอุตสาหกรรมและการสันดาบ ชายฝั่งแม่น้ำเน่าเสียจากอุตสาหกรรม และสารตกค้างจากการเกษตร ฝนกรด การขาดการดูแลบำบัดของเสียจากอุตสาหกรรมอย่างเพียงพอ และปัญหาด้านภัยธรรมชาติ เช่น แผ่นดินไหว ดินและโคลนถล่ม ภูเขาไฟระเบิด น้ำท่วม รวมถึงปัญหาแผ่นดินทรุดตัวในเวนิส[5]
ภูมิอากาศ
ประเทศอิตาลีมีลักษณะอากาศหลากหลายแบบ และอาจมีความแตกต่างจากภูมิอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียนตามลักษณะพื้นที่ตั้ง พื้นที่ส่วนใหญ่ทางตอนเหนือของประเทศ เช่นเมืองตูริน มิลาน และโบโลญญา มีลักษณะแบบอากาศภาคพื้นทวีปที่ค่อนข้างร้อนชึ้น (การแบ่งลักษณะภูมิอากาศแบบเคิปเปน: Cfa) พื้นที่ชายฝั่งติดกับทะเลของแคว้นลิกูเรียและส่วนใหญ่ของคาบสมุทรที่อยู่ใต้ลงไปจากฟลอเรนซ์เป็นภูมิอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียน (การแบ่งลักษณะภูมิอากาศแบบเคิปเปน: Csa) คือมีอากาศอบอุ่นตลอดทั้งปี โดยมีลมจากแอฟริกาพัดเอาความร้อนและความชี้นเข้ามา[4] พื้นที่ชายฝั่งของคาบสมุทรอิตาลีสามารถมีความแตกต่างกันได้มากจากระดับความสูงของภูเขาและหุบเขา โดยเฉพาะเมื่อถึงฤดูหนาวในที่สูงก็จะมีอากาศหนาว ชื้น และมักจะมีหิมะตก ภูมิภาคริมทะเลมีอากาศไม่รุนแรงในฤดูหนาว อากาศอุ่นและมักจะแห้งในฤดูร้อน และพื้นที่ต่ำกลางหุบเขามีอากาศค่อนข้างร้อนในฤดูร้อน
ประเทศอิตาลีมีฤดู 4 ฤดู ได้แก่ ฤดูหนาว ฤดูใบไม้ผลิ ฤดูร้อน และฤดูใบไม้ร่วง
เศรษฐกิจ
ในช่วงหลังของทศวรรษ 1980 เศรษฐกิจของอิตาลีจัดอยู่ในเกณฑ์ดี แต่เริ่มประสบปัญหาในทศวรรษต่อมา ทำให้รัฐบาลไม่สามารถควบคุมปัญหาการขาดดุลสาธารณะได้ เดิมอิตาลีเป็นประเทศเกษตรกรรม แต่หลังจากปี ค.ศ. 1945 ได้เริ่มพัฒนาภาคอุตสาหกรรมจนกระทั่งปัจจุบันมีประชากรเพียงร้อยละ 7 อยู่ในภาคการเกษตร ซึ่งส่วนใหญ่อาศัยอยู่ทางภาคใต้และมีฐานะยากจนกว่าทางภาคเหนือและกลาง พืชหลักที่เพาะปลูก ได้แก่ ต้นบีต ข้าวสาลี ข้าวโพด มันเทศและองุ่น (อิตาลีใช้องุ่นทำไวน์และเป็นผู้ผลิตรายใหญ่ของโลกด้วย) [5]
ประเทศอิตาลีมีพื้นที่ส่วนใหญ่ไม่เหมาะแก่การเกษตรกรรม และมีทรัพยากรธรรมชาติไม่มาก แม้จะมีก๊าซธรรมชาติอยู่บ้าง จึงเป็นประเทศที่ต้องนำเข้าอาหาร และพลังงาน อิตาลีเปลี่ยนจากระบบเศรษฐกิจที่พึ่งพาเกษตรกรรม เป็นอุตสาหกรรมแบบพื้นฐาน และมีขนาดใหญ่เป็นลำดับต้นๆ ของโลก โดยรายได้เฉลี่ยต่อหัวของประชากรสูงไล่เลี่ยกับอังกฤษและฝรั่งเศส อิตาลีมีจุดแข็งในอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs)
อุตสาหกรรมที่สำคัญของประเทศมี รถยนต์ เครื่องจักรกล การก่อสร้าง เคมีภัณฑ์ เภสัชภัณฑ์ เครื่องไฟฟ้า เครื่องเรือน อุตสาหกรรมทอผ้า เสื้อผ้า แฟชั่น และการท่องเที่ยว อิตาลีเป็นสมาชิกกลุ่มจี 8 และเข้าร่วมสหภาพการเงินของสหภาพยุโรป (EMU) เมื่อเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1998 แม้ระบบเศรษฐกิจของอิตาลีเป็นระบบทุนนิยม ที่ภาคเอกชนสามารถดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจได้อย่างเสรี แต่รัฐบาลยังคงเข้ามามีบทบาทควบคุมกิจกรรมที่สำคัญ เช่น สาธารณูปโภค อุตสาหกรรมพื้นฐาน เป็นต้น ซึ่งได้ก่อประโยชน์ให้แก่ภาครัฐบาลในการสร้างฐานอำนาจ และแบ่งปันผลประโยชน์ระหว่างพรรคการเมืองที่เข้าร่วมรัฐบาล อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันได้มีความพยายามที่จะลดบทบาทของพรรคการเมือง โดยการแปรรูปรัฐวิสาหกิจให้ภาคเอกชนเข้ามาดำเนินการ แต่อิตาลียังมีปัญหาเศรษฐกิจภายในประเทศหลายอย่าง เช่น การขาดดุลงบประมาณในระดับสูง การว่างงาน การขาดแคลนทรัพยากรพลังงานในประเทศ และระดับการพัฒนาที่แตกต่างกันอย่างมากระหว่างอิตาลีตอนเหนือ (แคว้นลอมบาร์ดี เอมีเลีย-โรมัญญา และทัสกานี) ซึ่งเป็นแหล่งอุตสาหกรรมและการค้า และมีกลุ่มผู้ประกอบการ SMEs อยู่หนาแน่น กับอิตาลีตอนกลางและตอนล่าง รวมทั้งเกาะซิซิลีและเกาะซาร์ดิเนีย ซึ่งเป็นแหล่งเกษตรกรรม บริเวณที่พัฒนาน้อยกว่านี้มีพื้นที่ประมาณ 40% ของพื้นที่ทั้งประเทศ โดยพื้นที่นี้มีประชากรอาศัยอยู่ถึงร้อยละ 35 ของประชากรทั้งประเทศ และมีอัตราการว่างงานสูงถึงกว่าร้อยละ 20 [8]
ทรัพยากร
ในสงครามโลกครั้งที่ 1 และ 2 อิตาลีเป็นประเทาที่มีทรัพยากรมากที่สุดและยังมีทรัพยากรจากแหล่งอาณานิคม ทรัพยากรของอิตาลีมี เหล็ก ทองแดง กำมะถันพบมากในซาร์ดิเนียทางตอนใต้ของอิตาลีมีทะเลสาบปล่องภูเขาไฟจำนวนมาก อิตาลียังมีถ่านหิน ดีบุกส่วนเกาะซิซิลีของอิตาลีมีก๊าซธรรมชาติมาก เกาะซาร์ดิเนียมีบีตและโรงงานทำน้ำตาลซึ่งใหญ่ที่สุดในยุโรป[ต้องการอ้างอิง] (น้ำตาลในยุโรปส่วนใหญ่มาจากอิตาลี) อิตาลีปลูกกาแฟมากที่สุดในยุโรป[ต้องการอ้างอิง] เป็นที่มาของคาปูชิโนและเอสเปรสโซทั้งสองมีต้นกำเนิดที่อิตาลี ทางตอนเหนือของอิตาลีนิยมปลูกองุ่นที่ใช้ทำไวน์ อิตาลีเป็นประเทศที่ค้าไวน์รายใหญ่แห่งหนึ่งของโลก
การคมนาคม
ประเทศอิตาลีมีถนนความยาวทั้งหมด 487,700 กิโลเมตร เชื่อมต่อ 13 ประเทศรอบอิตาลี มีสนามบินทั้งหมด 132 แห่ง โดยที่เป็นศูนย์กลางการบิน 2 แห่ง คือ สนามบินนานาชาติเลโอนาร์โด ดา วินชี ในกรุงโรม และสนามบินนานาชาติมัลเปนซา ในมิลาน มีสายการบินสู่ประเทศ 44 ประเทศ (ค.ศ. 2008) มีทางรถไฟความยาวทั้งหมด 19,460 กิโลเมตร เชื่อมต่อ 16 ประเทศ

ความสัมพันธ์กับประเทศไทย

ด้านการทูต

ประเทศไทยมีความสัมพันธ์ทางการทูตกับอิตาลีมา ตั้งแต่วันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2411 (ค.ศ. 1868) โดยไทยและอิตาลีได้ลงนามสนธิสัญญาฉบับแรกคือ สนธิสัญญาว่าด้วยมิตรภาพ การพาณิชย์ และการเดินเรือ (Treaty of Friendship, Commerce and Navigation) ซึ่งได้ลงนามเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม ค.ศ. 1868 ต่อมาอิตาลีได้แต่งตั้งกงสุลอิตาลีประจำประเทศไทย เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2429
ความสัมพันธ์ทวิภาคีไทย-อิตาลีโดยทั่วไปดำเนินไปอย่างราบรื่น ทั้งสองฝ่ายไม่มีปัญหาขัดแย้งที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาความสัมพันธ์อันดีระหว่างกัน นอกจากนั้น ยังมีการแลกเปลี่ยนการเยือนทั้งในระดับพระราชวงศ์ บุคคลสำคัญ และเจ้าหน้าที่อาวุโสของรัฐบาลทั้งสองประเทศอย่างสม่ำเสมอ
ไทยมีสถานเอกอัครราชทูตไทยประเทศอิตาลีที่กรุงโรม และมีสถานกงสุลใหญ่ประจำประเทศไทย 5 แห่ง คือ ที่เมืองตูริน เจโนวา มิลาน นาโปลี และคาตาเนีย และที่มีสถานเอกอัครราชทูตอิตาลีประจำประเทศไทยที่กรุงเทพ[21]

การค้าและเศรษฐกิจ

ในปี พ.ศ. 2549 ประเทศอิตาลีเป็นคู่ค้าของไทยอันดับที่ 4 ในสหภาพยุโรป และอันดับที่ 21 ในโลก โดยมีมูลค่าการค้ารวม 2.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นร้อยละ 9.2 ของการค้ารวมของไทย เพิ่มขึ้นจากปี พ.ศ. 2548 ร้อยละ 0.24 โดยไทยส่งออก 1.49 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ นำเข้า 1.47 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่วนการลงทุน ในปี พ.ศ. 2549 การลงทุนของอิตาลีในไทย มีมูลค่ารวม 481.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 19 จากปี พ.ศ. 2548 โดยเป็นด้านแร่ธาตุและเซรามิค 1 โครงการ อุตสาหกรรมเบาและเส้นใย 2 โครงการ ผลิตภัณฑ์โลหะและเครื่องจักร 3 โครงการ ด้านเคมีภัณฑ์และกระดาษ 1 โครงการและด้านบริการ 2 โครงการ
สินค้าส่งออกสำคัญ ได้แก่ เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ รถยนต์และส่วนประกอบ ยางพารา ปลาหมึกสดแช่เย็น เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ เสื้อผ้าสำเร็จรูป เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบอื่นๆ อัญมณีและเครื่องประดับ ผ้าผืน เครื่องโทรสาร โทรพิมพ์ โทรศัพท์ เป็นต้น
สินค้านำเข้าสำคัญ ได้แก่ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ เคมีภัณฑ์เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ ผ้าผืน ผลิตภัณฑ์เวชกรรมและเภสัชกรรม สัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ ผลิตภัณฑ์โลหะ ผลิตภัณฑ์พลาสติก เครื่องมือ เครื่องใช้ทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ การทดสอบ เครื่องใช้เบ็ดเตล็ด เป็นต้น[7]

การท่องเที่ยว

นักท่องเที่ยวอิตาลีมาท่องเที่ยวที่ประเทศไทยประมาณ 130,000 คนต่อปี โดยมีจำนวนมากน้อยตามสภาวะเศรษฐกิจของอิตาลีและยุโรป ในขณะที่นักท่องเที่ยวไทยไปอิตาลีปีละประมาณ 12,350 คน และมีแนวโน้มว่าจะเพิ่มมากขึ้นในแต่ละปี และสายการบินไทยมีเส้นทางการบินจากกรุงเทพสู่มิลาน สัปดาห์ละ 3 เที่ยวบิน จากเดิมมีเพียงการบินจากโรมเข้าสู่กรุงเทพทั้งสิ้น 7 เที่ยวบินต่อสัปดาห์