วันอังคารที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2553

โอกาสของผลไม้สดจากไทยในตลาดอิตาลี (แก้ไข)

อิตาลีเป็นตลาดที่มีศักยภาพสูงสาหรับผลไม้ไทย เนื่องจากมีจำนวนประชากรกว่า 60 ล้านคน และกระแสความนิยมบริโภคเพื่อสุขภาพที่เริ่มนิยมบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพ โดยเฉพาะผลไม้สดมากขึ้น แม้ว่าอิตาลีจะเป็นผู้ผลิตผลไม้แต่ในฤดูหนาวที่อิตาลีไม่สามารถผลิตผลไม้ได้ รวมถึงผลไม้ไทยเป็นผลไม้ที่อิตาลีผลิตไม่ได้จึงมีโอกาสและเป็นที่ต้องการในตลาดอิตาลี
                        
1.ผลไม้สดจากเขตเมืองร้อน (Tropical Fresh Fruit) ของไทยในตลาดอิตาลีมีศักยภาพมาก เนื่องจากมีความหลากหลายมาก มีความเป็นเอกลักษณ์ทั้งด้านรสชาดและคุณค่าทางโภชนาการ คุณภาพเป็นปัจจัยที่สำคัญในตลาดอิตาลี โดยเฉพาะผู้บริโภคนิยมเลือกผลไม้มีสีสันสดใสและดูเป็นของสดและสุก ถ้าราคาไม่ต่างกันมากผู้บริโภคจะเลือกซื้อผลไม้จากเขตเมืองร้อน
2. อิตาลี ฝรั่งเศสและเยอรมันเป็นประเทศในสหภาพยุโรปที่เป็นตลาดหลักของไทย แม้ว่าตลาดผลไม้สดจะเริ่มอิ่มตัวแต่พบยังคงช่องว่าในตลาดอิตาลีสาหรับสินค้าผลไม้จากเขตเมืองร้อน
3. โอกาสลู่ทางการส่งออกผลไม้ไปอิตาลีส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับการส่งเสริมการตลาดและการสื่อสารของสินค้าเนื่องจากว่าส่วนใหญ่ของผลไม้เขตเมืองร้อนยังไม่รู้จักแพร่หลาย นอกจากนี้การส่งออกผลไม้เขตเมืองร้อนไปอิตาลีขึ้นอยู่กับวิธีการขนส่ง การเก็บรักษาและการจัดการ ปัจจุบันผลไม้เขตร้อนส่วนใหญ่ต้องจัดส่งทางอากาศเนื่องจากมีอายุบนชั้นวางสั้น
4. การวิเคราะห์โอกาสของสินค้าผลไม้สดจากไทยในตลาดอิตาลี ได้แก่
- ผลไม้จากไทยเป็นผลไม้ที่อิตาลีผลิตไม่ได้ต้องนำเข้า
- มีความต้องการบริโภคสินค้าเพื่อสุขภาพมากขึ้น รวมถึงผลไม้สด
 - มีความต้องการสินค้าใหม่ๆ เพิ่มขึ้นสาหรับผลไม้จากเขตเมืองร้อน
 - มีความต้องการผลไม้สดในฤดูกาลที่ไม่มีผลไม้ออกในอิตาลี เช่นฤดูหนาว
 - มีการบริโภคผลไม้เพิ่มขึ้นในร้านอาหารและแหล่งบริการด้านอาหาร เช่น โรงแรม
 ปัญหาและอุปสรรค
 1. ผลกระทบจากภาวะวิกฤตเศรษฐกิจส่งผลต่อตลาดผลไม้สดจากเขตเมืองร้อนมากที่สุด เนื่องจากราคาแพงกว่าผลไม้ทั่วไป
2. เนื่องจากต้องขนส่งสินค้าทางอากาศเพื่อลดความเสี่ยงและรักษาความสดใหม่ ทำให้มีต้นทุนที่สูง
3. รัฐบาลอิตาลีสนับสนุนให้บริโภคผลผลิตในประเทศ
4. คนอิตาลีมักจะซื้อสินค้าแปลกใหม่ในช่วงที่มีโอกาสพิเศษเนื่องจากผลไม้จากไทยมีราคาสูง
5. คนอิตาลีส่วนใหญ่ยังไม่รู้จักผลไม้ไทย โดยเฉพาะมังคุด ลิ้นจี่ เงาะ ทุเรียน
                 
                    








การผลิต
อิตาลีเป็นผู้ผลิตผลไม้รายสำคัญสำหรับสินค้าผลไม้ เนื่องจากมีสภาพภูมิอากาศทางตอนเหนือของอิตาลีไปจนถึงทางตอนใต้ที่เหมาะสมแก่การเพาะปลูก จึงทำให้สามารถผลิตผลไม้ได้หลากหลาย โดยในปี 2552 อิตาลีสามารถผลิตผลไม้สดได้ 8,405,000 ตันเพิ่มขึ้น 1% เมื่อเทียบกับปี 2551 (8,299,000 ตัน) อิตาลีสามารถผลิตองุ่นได้มากที่สุดในสหภาพยุโรป เพื่อใช้สาหรับทำไวน์ ส่วนผลไม้ตระกูลส้มเป็นผลผลิตที่สำคัญอีกชนิดหนึ่งของอิตาลี โดยอิตาลีเป็นผู้ผลิตผลไม้ตระกูลส้มที่ใหญ่เป็นอันดับสองของสหภาพยุโรปรองจากสเปน ในขณะเดียวกัน ผลผลิตเลมอนเพิ่มขึ้นสูงด้วย สาหรับแอปเปิ้ลเป็นสินค้าที่สำคัญอีกชนิดหนึ่ง โดยพื้นที่หลักที่ใช้ปลูกแอปเปิ้ลได้แก่ แคว้น Alto Adige แคว้น Trentino และเวนีส ซึ่งอยู่ในเขตภาคเหนือของอิตาลี ตามด้วยลูกแพร์ ลูกพีช/Nectarines แตงโมและเมลอน

การบริโภค
ผลไม้สดเริ่มกลับมาเป็นที่นิยมในหมู่ผู้บริโภคมากขึ้นแม้ว่าจะมีราคาเพิ่มสูงขึ้นก็ตาม โดยในปี 2552 อิตาลีบริโภคผลไม้สดปริมาณ 9,298,000 ตัน โดยแบ่งออกเป็น
1. การบริโภคในครอบครัวประมาณ 20% โดยในปี 2552 ครอบครัวอิตาเลี่ยนบริโภคผลไม้สด 107,000 ตัน เพิ่มขึ้น 3.9% เมื่อเทียบกับปี 2551 (103,000 ตัน) โดย 34.1% ซื้อผลไม้สดที่ผลิตได้ในภาคใต้และเกาะต่างๆ ส่วน 28.7% ซื้อผลไม้สดที่ผลิตได้ในภาคตะวันตกเฉียงเหนือ (แคว้น Lombardy และ Piedmont เป็นต้น) 18.9% ซื้อผลไม้สดที่ผลิตได้ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (แคว้น Veneto และ Emilia Romagna) และอีก 18.4% ซื้อผลไม้สดที่ผลิตได้ในภาคกลาง
2. ใช้ในอุตสาหกรรมแปรรูปผลไม้และกลุ่มช่องทางขาย HO.RE.CA. (โรงแรม ร้านอาหารและแคนทีน) ประมาณ 80% โดยนำไปใช้ในการผลิตน้ำผลไม้ และเยื่อกระดาษ
   แอปเปิ้ลเป็นผลไม้ที่มีการบริโภคในอิตาลีมากที่สุด (แม้ว่าจะมีราคาสูงขึ้นในทุกช่องทางการจำหน่าย) โดยในปี 2552 มีการบริโภคจำนวน 865,000 ตัน ชนิดของแอปเปิ้ลที่บริโภคมากที่สุดตามลาดับคือ Golden/Red Delicious และ Fuji/Gala ส่วนส้มเป็นผลไม้ที่มีการบริโภคมากเป็นอันดับสอง มีปริมาณการบริโภคทั้งสิ้น 627,000 ตัน ผลไม้ที่นิยมบริโภคอื่นๆ ได้แก่ ลูกแพร์ (398,000 ตัน) แตงโม (361,000 ตัน) และพีช (347,000 ตัน) และการบริโภคผลไม้แปลกใหม่ด้วย ซึ่งรวมถึงกล้วย (455,000 ตัน) สัปปะรด (248,000 ตัน) และอื่นๆ (58,000 ตัน)
คาดว่าปริมาณการบริโภคผลไม้สดจะขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในปี 2551-2556 แม้ว่าราคาจะพุ่งสูงขึ้นก็ตาม อย่างไรก็ดีเนื่องจากราคาผลไม้สดเพิ่มสูงขึ้นใน 2-3 ปีที่ผ่านมาทำให้ทั้งภาคอุตสาหกรรมและภาครัฐมีความกังวลถึงปริมาณการบริโภคที่ลดลง จึงร่วมมือกันส่งเสริมการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพ โดยเฉพาะผลไม้สด โดยได้ร่วมกับฝรั่งเศสและเนเธอร์แลนด์จัดทำแคมเปญประชาสัมพันธ์ส่งเสริมการขายแอปเปิ้ลภายใต้แนวคิด "แอปเปิ้ล ผลไม้แห่งความหฤหันต์" ซึ่งได้รับเงินสนับสนุนแคมเปญนี้จากสหภาพยุโรปประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อและโฆษณาเป็นเวลา 3 ปี รวมถึงการจัดซุ้มผลไม้ในโรงเรียน ศูนย์สุขภาพและบริษัทที่ได้รับคัดเลือก
พฤติกรรมผู้บริโภคผลไม้สด
การบริโภคผลไม้สดของคนอิตาลีจะถูกกำหนดโดยปัจจัยต่างๆ รวมทั้งความเชื่อหรือทัศนคติ ความคุ้นเคยกับสินค้ามักทำให้ผู้บริโภคซื้อผลไม้สดที่ตนเองคุ้นเคย ผู้บริโภคที่ใส่ใจด้านสุขภาพมักจะกินผลไม้มากกว่า บางคนนิยมซื้อผลไม้เกษตรอินทรีย์ที่ปลูกแบบไร้สารเคมี เนื่องจากเห็นว่ามีวิตามินและเกลือแร่มากกว่า ทั้งนี้การบริโภคสินค้าเหล่านี้เกี่ยวข้องกับรายได้ด้วย เนื่องจากมีราคาแพงกว่า นอกจากนี้ยังมีปัจจัยภายนอกที่ส่งผลต่อการตัดสินใจด้วย เช่น ราคา คุณภาพ และการบริการ ความน่าสนใจของร้านค้าปลีกหรือซุปเปอร์มาร์เก็ตและร้านค้าเฉพาะทางรูปแบบการบริโภคมีความแตกต่างกันในแต่ละภาค โดยทั่วไปคนทางภาคเหนือและภาคกลางมีความเป็นอยู่แบบสังคมเมืองมากขึ้น และมีแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตมากกว่าคนในภาคใต้ที่ยังคงรักษาวิถีชีวิตแบบดั้งเดิมมากกว่า ทั้งนี้คนทางภาคใต้จะซื้อผลไม้สดในปริมาณมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ
การจำหน่าย
ในปี 2551 พบว่ามูลค่าการค้าผลไม้ในตลาดอิตาลีมีขยายตัวไปในทางบวก โดยมีการเจริญเติบโต 1% ในแง่ปริมาณและมูลค่าการขาย 4.8 ล้านตันจากสถิติพบว่า แอปเปิ้ลมียอดการจาหน่ายสูงสุด ทั้งนี้เนื่องจากเป็นผลจากการได้รับการสนับสนุนจากแคมเปญประชาสัมพันธ์ของรัฐบาลที่ส่งเสริมการบริโภคผลไม้ชนิดนี้ ในปี 2551 พบว่า เชอรี่ สัปปะรด แอปเปิ้ล และลูกพีช/nectarines และอื่นๆ มีปริมาณการขยายตัวสูงขึ้น ซึ่งเป็นผลมาจากแนวโน้มผู้บริโภคหันมาสนใจด้านสุขภาพมากขึ้น ความสะดวกในการซื้อหา และผลผลิตภายในประเทศที่มากขึ้น เนื่องจากสภาพอากาศ โดยสัปปะรดมีอัตราการขยายตัวเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วที่สุด ทั้งนี้จากสถิติพบว่าสัปปะรดเป็นผลไม้ที่ผู้บริโภคชาวอิตาเลี่ยนชื่นชอบมาก โดยมีปริมาณการขาย 66,600 ตัน ซึ่งขยายตัวสูงสุดในปี 2551 ถึง 9% ในขณะที่มีการบริโภคลูกแพร์ลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2551 มีปริมาณการขาย 412,900 ตัน ขยายตัวลดลง 2% ทั้งนี้เนื่องจากราคาที่แพงกว่าแอปเปิ้ล และลักษณะรูปทรงของลูกแพร์ ประกอบกับต้องรอให้สุกก่อนจึงจะรับประทานได้หลังจากซื้อมาอีก 2-3 วัน อนึ่งเป็นที่น่าสังเกตว่า ผลไม้เกษตรอินทรีย์ซึ่งได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจเช่นเดียวกันกับผักเกษตรอินทรีย์ แต่ปรากฎว่าแอปเปิ้ล ส้มและกล้วยซึ่งมีส่วนแบ่งหลักในตลาดผลไม้เกษตรอินทรีย์ยังคงมีแนวโน้มที่ดี


ช่องทางและระบบการจัดจำหน่ายสินค้า
1. ผู้นำเข้า (Importer)
 - นำเข้าโดยตรงจากผู้ผลิต/ผู้ส่งออก
 - ดำเนินการผ่านพิธีการทางศุลกากร
 - กระจายสินค้าผ่านผู้ค้าส่ง ผู้ค้าปลีก ซุปเปอร์มาร์เก็ต และร้านอาหาร
 2. ตัวแทนการค้า (Agent)
 - สร้างความสัมพันธ์ระหว่างผู้ผลิต/ผู้ส่งออกกับผู้ซื้อในอิตาลี
 - ตัวแทนการค้าจะเสนอสินค้าในนามของลูกค้าของตน
3. ผู้ขายส่ง (Wholesaler)
 - ซื้อผักและผลไม้จากผู้นำเข้าและผู้ผลิต
 - กระจายสินค้าไปยังร้านค้าปลีกเฉพาะทาง ผู้ให้บริการด้านอาหาร และซุปเปอร์มาร์เก็ต
   ผู้นำเข้าจะนำเข้าสินค้าโดยตรงจากผู้ผลิต/ผู้ส่งออก โดยหลังจากผ่านพิธีการทางศุลกากรที่ท่าเรือแล้ว     ผู้นำเข้าจะขนส่งสินค้าด้วยรถขนส่งไปยังคลังสินค้าของบริษัท และเริ่มขั้นตอนการกระจายสินค้าไปยังไฮเปอร์มาร์เก็ต ซุปเปอร์มาร์เก็ต ผู้ค้าส่ง ผู้ค้าปลีก และร้านค้าเฉพาะทาง ผลไม้บางอย่างเช่น มะม่วง สัปปะรด อะโวคาโด และมะละกอจะจัดจำหน่ายและขายเป็นชิ้น ส่วนลำใย เงาะ มังคุด จะจัดจำหน่ายเป็นกล่อง สำหรับกล้วย มะนาว และมะพร้าวจำหน่ายในถุงใสขนาดปริมาณ 200 - 300 กรัม
การนำเข้า
อิตาลีนำเข้าผลไม้จากทั่วโลกเฉลี่ยปีละ 200,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยในปี 2552 นำเข้าจากทั่วโลกมูลค่า 2,795,106 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (2,047,460 ตัน) และในปี 2553 (มค. - พค.) นาเข้ามูลค่า 1,051,087 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (748,877 ตัน) ประเทศที่นาเข้าหลักได้แก่ สเปน เอกวาดอร์ ฝรั่งเศส ตุรกี และสหรัฐอเมริกา สถิติการนาเข้าผลไม้จากไทยของอิตาลี ในปี 2552 มูลค่า 1,347,000 เหรียญสหรัฐฯ (786 ตัน) และในปี 2553 (มค. - พค.) นาเข้าจากไทยมูลค่า 354,000 เหรียญสหรัฐฯ (178 ตัน) แบ่งออกเป็น 1) สัปปะรด (HS080430) มูลค่า 103,000 เหรียญสหรัฐฯ (-6%) 2) มะขาม ขนุน ลิ้นจี่ (HS 08109020) มูลค่า 44,000 เหรียญสหรัฐฯ (-34.93%) 3) ฝรั่ง มะม่วง มังคุด (HS 080450) มูลค่า 43,000 เหรียญสหรัฐฯ (+16.22%) 4) มะพร้าว และเม็ดมะม่วงหิมพานต์ (HS 08011) มูลค่า 22,000 เหรียญสหรัฐฯ (0%) 5) ทุเรียนสด (HS08106000) มูลค่า 8,000 เหรียญสหรัฐฯ (+99.49%) 6) ผลไม้สดอื่นๆ (HS 08109095) มูลค่า 63,000 เหรียญสหรัฐฯ (-13.78) ผลไม้ที่นำเข้าจากต่างประเทศหลักๆ คือ กล้วย ตามด้วยสัปปะรด ซึ่งส่งมาจาก Cote D'Ivoire เอกวาดอร์ และอาฟริกาใต้ ประเทศเหล่านี้เป็นประเทศหลักในการส่งออกสินค้ากล้วย สัปปะรด มะม่วง มะละกอ ลิ้นจี่ ฝรั่ง เสาวรส และอะโวคาโด
มะม่วงนำเข้าจากบราซิล อิสราเอล เม็กซิโก ไทยและเวเนซูเอล่า มะละกอนาเข้าจากบราซิล เอกวาดอร์ Cote D'Ivoire โคลัมเบีย และมาเลเซีย ส่วนผลไม้อื่นๆ เช่น ลิ้นจี่ ฝรั่ง มังคุด เสาวรส ฯลฯ ส่วนใหญ่นำเข้าจากคอสตาริกา บราซิล อาฟริกาใต้ และไทย
คู่แข่งและราคาขาย

สินค้า
ประเทศผู้ผลิต
ราคาขายปลีกเฉลี่ย (ต่อกิโล)
อะโวคาโด
อิสราเอล/โมรอคโค/บราซิล/เปรู/โดมินิกันรีพับบริค/อาฟริกาใต้
5.00 ยูโร
มะม่วง
บราซิล/อิสราเอล/เม็กซิโก/ไทย/เวเนซุเอล่า
5.50 ยูโร
มะละกอ
บราซิล/เอกวาดอร์/Cote D’Ivoire/โคลัมเบีย/มาเลเซีย
5.50 ยูโร
สัปปะรด
Cote D’ivoire/เอกวาดอร์/อาฟริกาใต้
1.50 ยูโร
มังคุด
ไทย/อินโดนีเซีย
15.00 ยูโร
ลิ้นจี่
อิสราเอล/ไทย/มาดากัสการ์
8.50 ยูโร
ลาไย
ไทย/บราซิล
14.00 ยูโร
เงาะ
ไทย/อินโดนีเซีย/เวียดนาม
15.00 ยูโร
ขนุน
เคนยา/อิสราเอล/อาฟริกาใต้/ไทย
9.00 ยูโร


การขนส่งสินค้า
ส่วนใหญ่ผู้นำเข้าจะขนส่งสินค้าทางทะเล (ใช้เวลาประมาณ 28 วัน) โดยสินค้าส่วนใหญ่จะส่งมาที่ท่าเรือที่เจนัว ลิโวโน และเนเปิ้ล มีเพียงไม่กี่ชนิดที่ขนส่งมาทางอากาศ เช่น เชอรี่ มะละกอ มะม่วง เป็นต้น
ภาษีนำเข้าและกฎระเบียบการนำเข้า
 1. ภาษีนำเข้า 0% ได้แก่ มังคุด เงาะ ลิ้นจี่ มะม่วง ขนุน ลำไย (เช่นเดียวกับผลไม้จากอากรขาเข้าตุรกี, จีนและเวียดนาม)
2. เอกสารประกอบรับรองการนำเข้า ได้แก่ ใบรับรองสุขอนามัยจากหน่วยงานของไทย ใบรับรองแหล่งกำเนิด (ฟอร์ม A) Invoice และใบขนส่ง (Bill of Landing)

แบรนด์สินค้า
แบรนด์สินค้าผลไม้ในอิตาลีแบ่งออกเป็น 2 แบบคือ
1. ผู้นำข้าจะติดแบรนด์สินค้าภายใต้แบรนด์ของตนเอง โดย แบรนด์ที่เป็นที่รู้จักในอิตาลีได้แก่ Mc garlet, Gullino, Gullino Bio
2. ติดตรายี่ห้อของซุปเปอร์มาร์เก็ต/ไฮเปอร์มาร์เก็ต เช่น Essalunga, Coop, Standa, Auchan, Iper และ Carrefour เป็นต้น

คาดการณ์ตลาดผลไม้ในอนาคต :
1. คาดว่าตลาดการค้าผลไม้ในอิตาลีตั้งแต่ปี 2551 - 2556 จะมีแนวโน้มที่ดี หลังจากประสบปัญหามาหลายปี โดยจะมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นปีละ 1%
2. ผลของแคมเปญโฆษณาเรื่องอาหารเพื่อสุขภาพและการรณรงค์ต่อต้านโรคอ้วน จะส่งผลถึงพฤติกรรมผู้บริโภคชาวอิตาเลี่ยนมากขึ้น โดยมีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนจากการบริโภคช๊อคโกแลตและของหวานอื่นๆ มาเป็นผลไม้เพื่อสุขภาพ ซึ่งจะทำให้ราคาของสินค้าเพิ่มสูงขึ้นแต่มีแนวโน้มที่ดีอย่างเห็นได้ชัด
3. ผลไม้จากเขตร้อนได้รับผลตอบรับที่ดีในอิตาลี โดยเฉพาะสัปปะรดประสบความสำเร็จอย่างต่อเนื่อง แต่ผลไม้อื่นเช่น มะม่วงและมะละกอ ยังไม่ประสบความสำเร็จนักอาจเป็นเพราะราคาที่สูงกว่า ในขณะที่
กีวีซี่งเป็นผลไม้ที่ปลูกได้ตามบ้านในอิตาลีและสามารถหาได้ทั่วไปพบว่ามูลค่าการค้าลดลงอย่างมากในปี 2551 ส่วนผลไม้อื่นๆ เช่น ทับทิม เป็นผลไม้ตามฤดูกาลสามารถพบได้ในบางช่วงเวลาของปีเท่านั้น
4. นอกจากนี้ยังมีการแข่งขันเล็กน้อยในช่องทางการค้าปลีกสำหรับผลไม้ที่ล้างและหั่นแล้วบ้าง (washed and pre-cut fruit) โดยผลไม้จากเขตเมืองร้อนจะมีการจัดใส่ถาดขนาดพร้อมเสริ์ฟสาหรับทานเล่นวางขายอยู่ในไฮเปอร์มาร์เก็ตและซุปเปอร์มาร์เก็ตในอิตาลี ส่วนช่องทางการจำหน่ายอื่นๆ เช่น แคนทีนและเครื่องจำหน่ายอาหารจะมีการขายผลไม้ที่หั่นแล้วด้วยซึ่งมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
5. ในปัจจุบันราคาของผลไม้สดเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทั้งนี้มีความผันผวนในแต่ละปี เนื่องจากสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป
6. ระเบียบการนำเข้าสินค้าของภาครัฐยังเป็นข้อจำกัดในการนำเข้าและควบคุมปริมาณการนำเข้าผลไม้จากประเทศที่มีค่าจ้างแรงงานถูก เช่น อินเดียและจีน
                  

สรุปข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะ :
1. ผลไม้สดจากไทยยังมีโอกาสและลู่ทางในตลาดอิตาลีอีกมาก โดยเฉพาะสัปปะรดและมะม่วงสุก รวมถึงมะพร้าว เนื่องจากสินค้าไทยมีจุดแข็งคือมีความหลากหลายและมีความเป็นเอกลักษณ์ ประกอบกับความนิยมในผลไม้ไทยเพิ่มขึ้นจากนักท่องเที่ยวที่มาประเทศไทยและได้ทดลองลิ้มรสชาดของผลไม้ไทยอีกด้วย
2. อย่างไรก็ดีเนื่องจากอิตาลีเป็นหนึ่งในสมาชิกประเทศสหภาพยุโรป ดังนั้นกฎระเบียบการนำเข้าสินค้าเหล่านี้จึงอยู่ภายใต้กฎระเบียบเดียวกัน ซึ่งในปัจจุบันสินค้าผักผลไม้สดจากไทยมีปัญหาสารตกค้างจากยากาจัดศัตรูพืช ปัญหาสุขอนามัย รวมไปถึงปัญหาด้านโลจิสติกส์ และต้นทุนราคาค่าขนส่งที่แพงมาก ทำให้ผลไม้ไทยไม่สามารถแข่งขันได้กับคู่แข่งในตลาด
3. การส่งเสริมการตลาดและการประชาสัมพันธ์ผลไม้ให้เป็นที่รู้จักแพร่หลายในหมู่คนอิตาลีเป็นปัจจัยหลักสำคัญในการส่งเสริมให้สินค้าผลไม้ไทยเข้าสู่ตลาดอิตาลีได้มากยิ่งขึ้น เนื่องจากผลไม้ไทยยังไม่มีวางจำหน่ายแพร่หลายมากนัก จึงควรมีการเน้นการจัดกิจกรรมต่างๆ ให้มากยิ่งขึ้นและต่อเนื่อง เช่น การจัด In-store promotion ร่วมกับซุปเปอร์มาร์เก็ต/ผู้นำเข้า การจัดงานเทศกาลอาหารไทยและการจัดทดลองชิมผลไม้ไทย การเข้าร่วมงานแสดงสินค้าเฉพาะ ได้แก่งานแสดงสินค้า MACFRUT 2010 (จัดขึ้นระหว่างวันที่ 6-8 ตุลาคม 2010 ที่เมือง Cesena)
4. นอกจากนี้ผลไม้เกษตรอินทรีย์เป็นสินค้าหนึ่งที่มีลู่ทางสดใสในอนาคต เนื่องจากผู้บริโภคอิตาเลี่ยนเริ่มหันมาสนใจซื้อมากขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มผู้ที่มีกำลังซื้อสูง ดังนั้นวางแผนเจาะตลาดดังกล่าวในอนาคตจะช่วยให้ผลไม้ไทยเกษตรอินทรีย์จะสามารถครองตลาดอิตาลีได้
                                                                                                 ที่มา :http://www.depthai.go.th/
วิเคราะห์ SWOT
จุดแข็ง
1. ผลไม้ไทยมีความหลากหลายมาก มีความเป็นเอกลักษณ์ทั้งด้านรสชาติและคุณค่าทางโภชนาการ
2. ผลไม้ไทยมีการจัดใส่ถาดขนาดพร้อมเสริ์ฟสำหรับทานเล่น ทำให้สะดวกต่อผู้บริโภค หาซื้อได้ง่าย
3. นักท่องเที่ยวที่มาประเทศไทยและได้ทดลองลิ้มรสชาติของผลไม้ไทยจนเป็นที่รู้จักไปทั่วโลก
4. ผลไม้ไทยมีสีสันสดใสและดูเป็นของสดและสุก
จุดอ่อน
1. ผลไม้ไทยบางชนิดมีราคาแพงกว่าผลไม้ในประเทศ
2. ผลไม้ไทยบางชนิดยังไม่เป็นที่รู้จักของชาวอิตาลี
 3.  ผลไม้สดจากไทยมีปัญหาสารตกค้างจากการใช้ยากำจัดศัตรูพืช ส่งผลต่อปัญหาสุขอนามัย
4.  ต้นทุนราคาค่าขนส่งที่แพงมาก ทำให้ผลไม้ไทยไม่สามารถแข่งขันได้กับคู่แข่งในตลาด
 โอกาส
สภาพแวดล้อมภายนอก
1.  ด้านเศรษฐกิจ
        ปัจจุบันเศรษฐกิจของอิตาลีมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น ส่งผล ประชาชนมีกำลังทรัพย์ในการเลือกซื้อของมากยิ่งขึ้น และทำให้มีการสั่งนำเข้าผลไม้จากไทยมากยิ่งขึ้น เพราะผลไม้จากไทยเป็นผลไม้ที่อิตาลีผลิตไม่ได้จึงต้องนำเข้า
2. ด้านเทคโนโลยี
         มีการเก็บรักษาผลไม้สดโดยการนำเทคโนโลยีใหม่ที่ทันสมัยเข้ามาใช้ รวมทั้งมีการขนส่งทางอากาศซึ่งจะทำให้รวดเร็วและลดความเสี่ยงในการขนส่งได้
3.  ด้านวัฒนธรรม
       ชาวอิตาลี่ยนส่วนใหญ่มีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนจากการบริโภคช๊อคโกแลตและของหวานอื่นๆ มาเป็นผลไม้เพื่อสุขภาพมากยิ่งขึ้น และนิยมบริโภคผลไม้สดของไทยซึ่งจะทำให้ราคาของสินค้าเพิ่มสูงขึ้นแต่ก็มีแนวโน้มที่ดีอย่างเห็นได้ชัด
4. ด้านการเมือง
        รัฐบาลอิตาลีได้ร่วมมือกันรณรงค์ส่งเสริมการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพและการต่อต้านโรคอ้วน โดยเฉพาะผลไม้สดมีการประชาสัมพันธ์ตามสื่อต่างๆ และมีการจัดซุ้มผลไม้ในโรงเรียน ศูนย์สุขภาพและบริษัทที่ได้รับคัดเลือก ทำให้มีประชาชนสนใจที่จะบริโภคผลไม้เพื่อสุขภาพมากยิ่งขึ้น
อุปสรรค
สภาพแวดล้อมภายนอก
1. ด้านเศรษฐกิจ
     ในปัจจุบันราคาของผลไม้สดเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทั้งนี้มีความผันผวนในแต่ละปี เนื่องจากสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป และผลไม้สดก็ได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจ ทำให้ผู้บริโภคมีโอกาสในการเลือกซื้อผลไม้ที่มีราคาถูกกว่าได้
2. ด้านเทคโนโลยี
     เนื่องจากผลไม้ไทยมีความสดใหม่จึงต้องมีการเก็บรักษาด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย ประกอบด้วยต้องขนส่งทางอากาศเพื่อลดความเสี่ยงและความรวดเร็ว ทำให้มีต้นทุนขนส่งที่แพงมาก และทำให้ผลไม้ไทยไม่สามารถแข่งขันได้กับคู่แข่งในตลาด 3. ด้านวัฒนธรรม
    ชาวอิตาเลี่ยนจะนิยมให้ของเนื่องในโอกาสพิเศษต่างๆ แต่เนื่องจากผลไม้ไทยบางชนิดมีราคาแพง จึงเปลี่ยนเป็นหาของที่แปลกใหม่กว่าให้แทน และจะนิยมบริโภคสินค้าที่ตนเองคุ้นเคยมากกว่า เพราะผลไทยไทยบางชนิดยังไม่เป็นที่รู้จักของชาวอิตาเลียน
4. ด้านการเมือง
        รัฐบาลอิตาลีสนับสนุนให้ประชาชนบริโภคผลไม้ที่ผลิตในประเทศตนเองมากกว่า ซึ่งผลไม้บางชนิดก็มีราคาถูกกว่าผลไม้สดจากไทย แต่ผลไม้บางชนิดที่ผลิตไม่ได้ก็จะสั่งนำเข้าแต่จะก็มีราคาแพง

วันเสาร์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ความรู้สึกในการกินขนมอินเดีย

ก่อนที่จะกิน รู้สึกสนุกมาก นั่งรถมาตามหาเลยที่เดียว วว


  กอลากัง - เป็นขนมชนิดแรกที่แม่ค้าแนะนำ บอกอันนี้อร่อย และทามมาจากนม นุ่มด้วย!! พอทานเข้าไปแล้วมันก็อร่อยดี มีกลิ่นนมข้น และนุ่มจริงๆ เสน่ห์ของขนมชนิดนี้ก็คือ มันหอมและนุ่มนั่นเอง


บัฟฟี่ - ขนมชนิดนี้ทำมาจากนมเช่นเดียวกันแต่จะมีช็อกโกแล็กผสมอยู่ด้วย แต่จะแตกต่างกับกอลากังก็คือมันจะแข็งกว่า ไม่ค่อยนุ่มและกลิ่นเครื่องเทศก็จะแรงกว่ากอลาลังด้วย


ปิ่นนี - ทำมาจากถั่วและใช้เม็ดมะม่วงหินมะพานโรยอยู่ อันนี้จะมีกลิ่นเครื่องเทศผสมอยู่นิดๆ คิดว่าที่คนอินเดียชอบกินเพราะน่าจะมีเครื่องเทศอยู่ตามขนมของเค้า เพราะเค้าชอบเครื่องเทศอยู่แล้ว
โดราบัฟฟี่ - ขนมชิ้นนี้เครื่องเทศเยอะมาก แรงมากด้วยขึ้นจมูกเลย

คิดว่า...ขนมอินเดียทุกชนิดน่าจะมีส่วนผสมของเครื่องเทศ ตามสไตส์ของอินเดีย และเป็นเอกลักษณ์ของเค้า ที่คนอินเดียชอบกินเพราะสิ่งนี้

วันอาทิตย์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

สินค้าส่งออก

สินค้าเฟอร์นิเจอร์
1. สถานการณ์ทั่วไป สินค้าเฟอร์นิเจอร์ของอิตาลีมีประวัติศาสตร์การผลิตมายาวนานสืบต่อกันมาหลายรุ่น ระหว่างปี 1998 – 2007 ถือเป็นช่วงเวลาที่มีความรุ่งเรืองมากจาก Strong Demand ทั้งในประเทศและต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง มีชื่อในด้านรูปแบบดีไซน์สวยงาม สร้างสรรและคุณภาพดี มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันทั่วโลก ด้วยเหตุนี้พบว่าอิตาลีมีมูลค่าการส่งออกสินค้าเฟอร์นิเจอร์สูงกว่ามูลค่าการนาเข้ามาตลอด แม้ในปีหลังที่ภาวะเศรษฐกิจถดถอย



2. ความเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์อิตาลีจากอดีตถึงปัจจุบัน ในช่วงระยะเวลา 25 ปีที่ผ่านมา อิตาลีได้กลายเป็นผู้นาทางด้านเฟอร์นิเจอร์โลกโดยมีปัจจัยหลักมาจาก 2.1 รูปแบบดีไซน์ที่เน้นให้ความสาคัญความสวยงามของสินค้า 2.2 ไอเดียแปลกใหม่ในการผลิตสินค้าและการใช้เครื่องมือผลิตที่ทันสมัย 2.3 การผลิตสินค้าที่มีคุณภาพหลากหลายจากโรงงาน/บริษัทเฟอร์นิเจอร์ขนาดเล็ก แต่ในปัจจุบัน ปัจจัยดังกล่าวไม่สามารถตอบสนองความต้องการของตลาดผู้บริโภคทั่วโลกที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลาได้ เพราะหลายประเทศเริ่มพัฒนาศักยภาพในการผลิตสินค้าให้มีคุณภาพและราคาต่ำ พัฒนานักออกแบบและสถาบันการสอนให้มีคุณภาพ แต่การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวส่งผลให้เกิดความต้องการซื้อในตลาดโลกเพิ่มมากขึ้น จึงถือเป็นโอกาสดีแก่อิตาลีในการเพิ่มการส่งออก

เมื่อเกิดเหตุการณ์วิกฤติเศรษฐกิจ (International Economy Slump) ในประเทศมหาอานาจอย่างสหรัฐอเมริกาในปี 2008 ได้ปลุกให้ทั่วโลกตื่นตัวและระมัดระวังในการบริโภค/การลงทุนมากยิ่งขึ้น โดยการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกได้ส่งผลชัดเจนมากขึ้น หลายอุตสาหกรรมเริ่มเข้าสู่ภาวะชะลอตัวไม่เว้นแม้แต่ภาคอุตสาหกรรมที่เข้มแข็งอย่างอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์อิตาลี สาเหตุจากราคาน้ามันที่ไต่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้วัตถุดิบและกึ่งวัตถุดิบมีราคาสูงขึ้น ธนาคารไม่ปล่อยกู้ จนทาให้ธุรกิจชะลอตัวและเข้าขั้นชะงักในไตรมาสสุดท้ายของปี 2008 โดยปี 2008 อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ไม้มียอดขายลดลงร้อยละ 5.6 อันเนื่องจากการลดลงของการบริโภคภายในประเทศร้อยละ 7.8 และยอดการส่งออกลดลงร้อยละ 2

สถานการณ์ในปี 2010
Mr. Rosario Messina ประธาน FederlegnoArredo ได้ขอความช่วยเหลือจากภาครัฐบาลให้เข้ามาช่วยเหลือภาคอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์อิตาลีอย่างเร่งด่วนภายในปี 2010 เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการว่างงานกว่า 100,000 ราย และการันตีให้กับภาคอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ขนาดเล็กและขนาดกลางในการดาเนินงานในระบบเศรษฐกิจอิตาลีขณะนี้
อย่างไรก็ตาม ภาคอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์อิตาลีมีความหวังว่าตลาดต่างประเทศจะกลับมาฟื้นตัวอย่างรวดเร็วอีกครั้งหนึ่งเหมือนก่อนที่จะเกิดเหตุการณ์วิกฤติเศรษฐกิจโลก
ปี 2010 สถาบัน CSIL (Centre for Industrial Studies) ได้คาดการณ์สถานการณ์การผลิตยังคงเป็นอีกปีหนึ่งที่ภาคอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์อิตาลีต้องเผชิญกับภาวะที่ลาบาก อันเนื่องมาจากความต้องการในตลาดอิตาลียังไม่มีการเปลี่ยนแปลงกอปรกับความต้องการในตลาดต่างประเทศจะกลับมาฟื้นตัวอย่างช้าๆในช่วงปลายปี 2010
ปี 2010 สถาบัน CSIL ได้คาดการณ์สถานการณ์การบริโภคสินค้าเฟอร์นิเจอร์อิตาลีไม่มีการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นมากนัก โดยมีสาเหตุต่อเนื่องมาจากการชะลอตัวการบริโภคทั้งในและต่างประเทศ อีกทั้งในช่วงครึ่งปีแรกการบริโภคยังคงกลับมาฟื้นตัวได้ยาก โดยยอดขายในอิตาลีอาจจะมีผลลดลงร้อยละ 1 อันเนื่องมาจากรายได้ของประชาชนลดลง ภาวะการตกงาน การเพิ่มขึ้นของราคาวัตถุดิบ และภาวะเงินเฟ้อ ในขณะนี้ผู้ขายส่วนใหญ่จะพยายามหลีกเลี่ยงการซื้อสินค้ามาเก็บไว้ในโกงดัง โดยสาเหตุหลักมาจากจานวนของผู้บริโภคลดลงอย่างมาก
3. การนำเข้า ปี 2009 จากข้อมูลของ Federlegno-Arredo พบว่าอิตาลีมีมูลค่าการนาเข้าลดลงร้อยละ 16.7 นอกจากนี้ ข้อมูลจาก World Trade Altas พบว่าระหว่างเดือนมกราคม-ตุลาคม 2009 อิตาลีมีมูลค่าการนาเข้าจากทั่วโลก 1,972 ล้านยูโร อัตราการนาเข้าลดลงร้อยละ 15.5 สาเหตุหลักเกิดจาก Internal Demand ลดลง ทั้งจากผู้ผลิตและ Demand จากครอบครัวอิตาเลียน ตลาดนาเข้าหลักของอิตาลีได้แก่
- อันดับ 1 ประเทศจีน มูลค่า 501 ล้านยูโร (-12.2%)
- อันดับ 2 ประเทศเยอรมัน มูลค่า 299 ล้านยูโร (-12.5%)
- อันดับ 3 ประเทศออสเตรีย มูลค่า 140 ล้านยูโร (-31.3%)
- อันดับ 25 ประเทศไทย มูลค่า 17 ล้านยูโร (-21.6%)
สินค้าเฟอร์นิเจอร์ที่อิตาลีนาเข้าจากไทยได้แก่
        - เฟอร์นิเจอร์สาหรับห้องนั่งเล่น/ห้องอาหาร/ห้องนอน
        - ฐานรองฟูก
        - เฟอร์นิเจอร์ที่ใช้ในทางการแพทย์
        - เครื่องประทีบโคมไฟ และที่นั่ง
โดยสินค้าเฟอร์นิเจอร์ที่อิตาลีนาเข้าลดลงมากคือ เฟอร์นิเจอร์ทาด้วยโลหะและไม้ (-17.9%) ในขณะที่สินค้าที่อิตาลีนาเข้าเพิ่มขึ้นคือ ฐานรองฟูก เตียงและของตกแต่งเตียง (+116.7%) อันเนื่องมาการปิดโรงงานผู้ผลิตฐานรองฟูกในปีก่อน ปี 2010 สถาบัน CSIL ได้คาดการณ์สถานการณ์การนาเข้า โดยความต้องการในตลาดอิตาลียังไม่มีการเพิ่มขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม การนาเข้าอาจมีการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น
4. การส่งออก ปี 2009 จากข้อมูลของ FederlegnoArredo พบว่าอิตาลีมีมูลค่าการส่งออกลดลงร้อยละ 23 โดยมีปัจจัยหลักมาจากการลดกาลังซื้อทั้งมูลค่าและปริมาณสินค้าของประเทศคู่ค้าหลักในยุโรปตะวันตก ได้แก่ - ฝรั่งเศส (-12%) - เยอรมัน (-10.1%) - สหราชอาณาจักร (-39.8%) - สหรัฐอเมริกา (-34.9%) นอกจากนี้ ตลาดส่งออกที่มีมูลค่าการสั่งซื้อเพิ่มขึ้นในปีก่อน พบว่าปีนี้ตลาดดังกล่าวมีมูลค่าการสั่งซื้อลดลง ได้แก่ รัสเซีย (-33%) สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (-33.8%)
ระหว่างเดือนมกราคม-ตุลาคม 2553 จากข้อมูลของ World Trade Altas พบว่าสินค้าเฟอร์นิเจอร์ของอิตาลีเป็นสินค้าส่งออกลาดับที่ 8 ของประเทศ โดยมีมูลค่าส่งออก 7,509 ล้านยูโร ลดลงร้อยละ -22.2 ตลาดส่งออกหลักของอิตาลีได้แก่
- อันดับ 1 ประเทศฝรั่งเศล มูลค่า 1,223 ล้านยูโร (-12.2%)
- อันดับ 2 ประเทศเยอรมัน มูลค่า 887 ล้านยูโร (-10.7%)
- อันดับ 3 ประเทศสหราชอาณาจักร มูลค่า 592 ล้านยูโร (-36.5%)
- อันดับ 75 ประเทศไทย มูลค่า 6 ล้านยูโร (-17.5%)
ปี 2010 สถานการณ์การส่งออกสินค้าเฟอร์นิเจอร์อิตาลียังไม่สู้ดีนัก เนื่องจากความต้องการซื้อจากตลาดต่างประเทศยังคงอ่อนแอและความต้องการบริโภคสินค้าภายในไม่มีการเปลี่ยนแปลง
       ตารางสถานการณ์ของอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์อิตาลีจากปี 2000-2010 (%)
ที่มา : สถาบัน CSIL (Centre for Industrial Studies)
5. ลักษณะตลาดเฟอร์นิเจอร์ ตลาดเฟอร์นิเจอร์ในอิตาลีแบ่งออกเป็น 2ตลาดหลัก ได้แก่ - Furniture Outlets สินค้าส่วนใหญ่มีคุณภาพ ราคาปานกลาง-ต่ำ โดยมุ่งตลาดผู้บริโภคระดับกลางถึงล่าง มีสินค้าให้เลือกหลากหลายทั้งรูปแบบและราคา สินค้าส่วนใหญ่เป็นสินค้านาเข้าหรือสินค้านาเข้าที่สั่งผลิตในต่างประเทศภายใต้รูปแบบดีไซน์อิตาเลียน Specialist Stores ส่วนใหญ่เป็นสินค้าจากผู้ผลิตที่มีขนาดเล็ก โดยเน้นผลิตสินค้าคุณภาพดี-ดีมากและราคาสูง มุ่งสาหรับตลาดบนหรือตลาดเฉพาะ (Niche Market)
6. ข้อเสนอแนะ สินค้าเฟอร์นิเจอร์จากไทยจัดอยู่ในคุณภาพดีถึงดีมาก แต่ยังไม่เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางของผู้นาเข้าและมักมีความเห็นว่าเฟอร์นิเจอร์ไทยราคาสูงเกินไป ประกอบกับในช่วงปีหลังผู้นาเข้าอิตาลีให้ความสำคัญกับราคาสินค้าเพิ่มมากขึ้น ทาให้ประเทศไทยมีคู่แข่งทางการค้าที่สำคัญได้แก่ จีน อินโดนีเซีย เวียดนาม และอินเดีย เป็นต้น นอกจากนี้ ชาวตาเลียนยังคำนึงประโยชน์การใช้สอย อันเนื่องจากภาวะวิกฤติเศรษฐกิจที่ยังคงอยู่ส่งผลให้ชาวอิตาเลียนไตร่ตรองเพิ่มมากขึ้นในการใช้จ่าย ดังนั้น การที่ไทยต้องการจะขยายกาลังการส่งออกมาสู่ตลาดอิตาลีควรมีการปรับตัว ดังนี้ 10.1 ส่งออกสินค้าที่เน้นประโยชน์ใช้สอย บ้านเรือนของชาวอิตาเลียนส่วนใหญ่จะมีพื้นที่จากัดโดยเฉพาะบ้านในตัวเมือง ส่งผลให้ชาวอิตาเลียนนิยมซื้อเฟอร์นิเจอร์ที่เน้นประโยชน์ใช้สอยและประหยัดพื้นที่
7. งานแสดงสินค้า Salone Internazionale del Mobile 2010  งานแสดงสินค้า Salone Internazionale del Mobile 2010 ที่จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 14-19 เมษายน 2553 ถือเป็นงานแสดงสินค้าเฟอร์นิเจอร์ที่สำคัญที่สุดงานหนึ่งในโลก จัดขึ้น ณ เมืองมิลาน ประเทศอิตาลี โดยมีบริษัทผู้ส่งออกไทยจานวน 8 บริษัท เข้าร่วมแสดงในงานฯ ซึ่งเป็นครั้งที่สอง โดยปี 2009 บริษัทผู้ส่งออกไทยได้รับความสนใจเป็นอย่างมากจากผู้เข้าชมทั้งชาวอิตาเลียนและชาวต่างชาติ จึงนับได้ว่าเป็นโอกาสดีในการเผยแพร่สินค้าเฟอร์นิเจอร์ไทยในงานดังกล่าว
บรรยากาศบูธไทยในงาน Salone Internazionale del Mobile 2009
ที่มา : http://www.cosmit.it/

วิเคราะห์ SWOT
จุดแข็ง (Strengths)
1.  มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันทั่วโลก และเป็นผู้นำทางด้านเฟอร์นิเจอร์โลก
2.   รูปแบบดีไซน์ที่เน้นให้ความสำคัญความสวยงามของสินค้า
3.  ไอเดียแปลกใหม่ในการผลิตสินค้าและการใช้เครื่องมือผลิตที่ทันสมัย
4.  การผลิตสินค้าที่มีคุณภาพหลากหลายจากโรงงาน/บริษัทเฟอร์นิเจอร์ขนาดเล็ก

จุดอ่อน(Weakness)
1.  อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ไม้มียอดขายลดลง
2.  ความต้องการในตลาดอิตาลียังไม่มีการเปลี่ยนแปลง
3.  ธนาคารไม่ปล่อยกู้ จนทำให้ธุรกิจชะลอตัว
4.  การจ้างงานลดลงเพราะแข่งขันกับบริษัทข้ามชาติขนาดใหญ่

โอกาส(Opportunities)
1. อิตาลีมีมูลค่าการส่งออกสินค้าเฟอร์นิเจอร์สูงกว่ามูลค่าการนำเข้ามาตลอด
2.  ความต้องการซื้อในตลาดโลกเพิ่มมากขึ้น จึงถือเป็นโอกาสดีแก่อิตาลีในการเพิ่มการส่งออก
3. ทำการลดภาษีซื้อ และสร้างแรงจูงใจให้กับภาคอุตสาหกรรมโรงแรมให้เปลี่ยน/ซื้อเฟอร์นิเจอร์ใหม่
4. รัฐบาลอิตาลีได้พยายามให้ความช่วยเหลือทั้งภาค อุตสาหกรรม และในระดับครอบครัวเพื่อจูงใจให้เพิ่มการลงทุนและกระตุ้นการใช้จ่ายระดับครอบครัวมากขึ้น

อุปสรรค(Threats)
1.  ภาวะการตกงาน
2.  รายได้ของประชาชนลดลง 
3. ราคาน้ำมันที่ไต่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
4. ผู้บริโภคอยู่ในสถานการณ์ขาดความเชื่อมั่น จึงเกิดการชะลอตัวในการลงทุน/บริโภคสินค้าถาวร (เฟอร์นิเจอร์)